|
 
 
 
วันที่ / Date 4-7/05/2567
71.70 บาท/กก. (THB/Kg.)
 
วันที่ / Date 03/05/2567
1,480.00 USD/MT (@ B/USD)
  •   กรีนไทน์ ยางล้อสัญชาติไทยบุกตลาดโลก ดันพลิกโฉมสู่การกำหนดราคากลางเอง new

“ที่ผ่านมายางพาราขาดเสถียรภาพทางด้านราคามาหลายปี ทั้งที่บ้านเราผลิตยางพารามากที่สุดในโลก แต่กลับยังขาดการแปรรูปเพิ่มมูลค่า จนไม่สามารถกำหนดราคาเอง ต้องอิงราคาตามตลาดโลก การยางแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมบอร์ด กยท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางลดการส่งออกวัตถุดิบยาง แล้วหันมาแปรรูปเพิ่มผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ สร้างเสถียรภาพราคายางให้ได้ราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางพารา สร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบยางพารา โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเริ่มต้นที่ยางล้อ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมของยางพารามากที่สุด”

นายศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) บอกถึงการเพิ่มมูลค่ายางพารา จากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางล้อ อันถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ครั้งแรกของไทยในอุตสากรรมยางพาราที่ผ่านมา กยท.มีความร่วมมือกับเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศมาโดยตลอด แต่ในการผลิตล้อยางภายใต้แบรนด์ของ กยท.ที่ใช้ชื่อว่า “GREEN TYRE” หรือกรีนไทน์ พุ่งเป้าไปที่ผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก โดยมุ่งหวังให้โรงงานของคนไทยโดยคนไทย เป็นโรงงานแปรรูประดับโลก ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน

โดยเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เราจะได้เห็นยางล้อสัญชาติไทยในตลาดยางล้อในประเทศ และเกิดการเซ็นเอ็มโอยูอย่างเป็นทางการระหว่าง กยท.กับบริษัทเอกชนผู้ผลิตยางล้อ

นายศิริพันธุ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย ว่าจะเป็นการร่วมทุนกับเอกชนหรือให้สัมป ทานเอกชนเป็นผู้ผลิต แต่ไม่ว่าเป็นรูปแบบไหน อย่างน้อยก็จะเปิดประวัติ ศาสตร์หน้าใหม่ของยาง พาราไทย ที่เป็นการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ต่างจากอดีตที่เราส่งวัตถุดิบให้ต่างชาตินำมาทำเป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ แล้วนำเข้ากลับมาขายให้ไทย ในอนาคตหากทุกอย่างสำเร็จ ไทยในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบยางพารามากที่สุดในโลกจะเป็นผู้กำหนดราคาวัตถุดิบได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครมากำหนดราคา ที่สำคัญยังทำให้ไทยก้าวขึ้นสู่การกำหนดราคาสินค้าปลายทางให้กับคนทั้งโลกได้อีกด้วย

 ทั้งนี้ในเมื่อเราเป็นประเทศต้นทางวัตถุดิบ เราจะสามารถขาย ยางล้อได้ในราคาย่อมเยากว่าตลาดอื่น เพราะไม่มีทั้งค่าขนส่ง ภาษี แต่ภายใต้ราคาย่อมเยา นั่นหมายถึงเกษตรกรต้องมีกำไรอย่างที่ควรจะได้ เพราะเราสามารถกำหนดราคาพื้นฐานอย่างยุติธรรมได้เอง ต่อมาต้องสร้างค่านิยม ความนิยมในการอนุรักษ์ สนับสนุนสินค้าไทย สร้างแบรนด์ไทยให้ถึงมาตรฐานโลก ซึ่งรัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เพราะเม็ดเงินที่ใช้ใน การทำ โรงงานต้องใช้มากในระดับหนึ่ง ถือเป็นมิติใหม่และความท้าทาย ในการสร้างความเป็นไทยในนวัตกรรมที่เป็นของไทยแท้ๆ ออกสู่สายตาคนทั้งโลก และถือเป็นพันธกิจที่ กยท.ต้องทำให้สำเร็จ

“ถ้าเราทำสำเร็จ คาดว่าปริมาณยางในประเทศน่าจะไม่พอกับความต้องการ และเราจะกลายเป็นประเทศที่ผลิตเอง ใช้เอง แปรรูปเอง และส่งออกเอง ทำให้ในอนาคตอาจต้องเปิดโอกาสนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้มาตรฐานคุณภาพที่เราสามารถกำหนดและกำกับได้ ส่งผลให้เราสามารถเก็บค่าเงินเซสได้อีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่นๆ เรามีการวิเคราะห์และศึกษาไปพร้อมๆกัน ภายใต้หลักสำคัญคือต้องกำหนดให้เกิดความสมดุลราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนของเกษตรกรไทย แล้วกำหนดราคาขายปลายทางให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ โดยเน้นย้ำถึงยางคุณภาพดีได้ผลผลิตแปรรูปตรงตามมาตรฐาน ภายใต้กรอบ ไทยผลิต ไทยบริโภค ไทยกำหนด”

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

Update :  22 เมษายน 2567     เวลา : 09:49:31 น.
 

สมาคมน้ำยางข้นไทย
60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel. 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org

ระบบจัดการข้อมูล | ระบบเช็คอีเมล์
Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com