|
 
 
 
วันที่ / Date 4-7/05/2567
71.70 บาท/กก. (THB/Kg.)
 
วันที่ / Date 03/05/2567
1,480.00 USD/MT (@ B/USD)
  •   วิธีจัดตั้ง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ลงทุนธุรกิจยางพารา ต้องทำอย่างไร new

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) ลงนามประกาศการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพารา โดยอำนาจตาม มาตรา 9 (3) พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558

สาระสำคัญ ระบุว่า ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจและอุตสาห

นิยาม ความหมาย

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ในประกาศนี้

“กยท.” หมายความว่า การยางแห่งประเทศไทย

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย

“ผู้ว่าการ” หมายความว่า ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย

รรมเกี่ยวกับยางพารา”

“พนักงาน” หมายความว่า พนักงานการยางแห่งประเทศไทย

“เกษตรกรชาวสวนยาง” หมายความว่า เจ้าของ ผู้เช่าหรือผู้ทำสวนยางและคนกรีดยางซึ่งมีสิทธิได้รับผลผลิตจากต้นยางในสวนยางนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

“สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง” หมายความว่า สมาคม สหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร

ชาวสวนยางที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีเกษตรกรชาวสวนยางเป็นผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

กลุ่มชาวสวนยาง กยท.คืออะไร

ในประกาศระบุว่า “กลุ่มชาวสวนยาง กยท.” หมายความว่า เกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์รวมตัวกันเป็นกลุ่มด้วยความสมัครใจภายใต้การจัดตั้งและอยู่ในความดูแลของ กยท. โตยที่กลุ่มที่ยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล

เพื่อดำเนินการในด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิต การแปรรูป การตลาด และการดำเนินการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและอุตสาหกรรมยางแปรรูปยางขั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง การพัฒนายางพาราทั้งระบบ และการรักษาเสถียรภาพราคายาง รวมถึงมีความประสงค์ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาเพื่อยกระดับสถานะกลุ่มให้เป็นนิติบุคคล

“สมาชิก” หมายความว่า เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกของกลุ่มชาวสวนยาง กยท.

จัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง กยท.เพื่ออะไร

ตามประกาศ ข้อ 4 ระบุว่า วัตถุประสงค์การจัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ประกอบด้วย

4.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสถาบัน
เกษตรกรซาวสวนยาง เพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพารา

4.2 เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน

4.3 เพื่อสนับสนุนและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ

4.4 เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่าง 1 รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนให้

4.5 เพื่อสนับสนุนกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง
กับยางพารา

4.6 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มชาวสวนยาง กยท. ดำเนินการในต้านการปรับปรุงคุณภาพ
ผลผลิต การผลิต การแปรรูป การตลาด และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและอุตสาหกรรมยางแปรรูปยางชั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง การพัฒนายางพาราทั้งระบบ และการรักษาเสถียรภาพราคายาง

4.7 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มชาวสวนยาง กยท. และมวลสมาชิกเกษตรกรชาวสวนยาง
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ตามหลักวิซาการ

คุณสมบัติจัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง กยท.

ข้อ 5 คุณสมบัติการจัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง กยท. มีดังนี้

5.1 เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย

5.2 มีการรวมตัวเป็นกลุ่มชาวสวนยาง กยท. สมาชิกตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป โดยมีพื้นที่
หรือกิจกรรมหรือภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ที่กลุ่มชาวสวนยาง กยท. นั้นดำเนินการอยู่

5.3 มีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรม
เกี่ยวกับการพัฒนายางพารา

ข้อ 6 การดำเนินการ

6.1 ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้กับเกษตรกรซาวสวนยาง

6.2 รับสมัครกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มชาวสวนยาง กยท.ตามแบบและวิธีการที่ กยท. กำหนด

6.3 พิจารณา อนุมัติ จัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง กยท.

6.4 จัดประชุมกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ตามที่พิจารณาอนุมัตี เพื่อจัดทำข้อบังคับ จัดทำ
แผนงานโครงการประจำปี และรายละเอียดของกลุ่มชาวสวนยาง กยท.

โดยกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ต้องดำเนินการเตรียมความพร้อม ซึ่งจะต้องจัดทำรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อกลุ่ม
(2) วัตถุประสงค์
(3) ที่ตั้งสำนักงานของกลุ่ม
(4) ทะเบียนรายชื่อสมาชิก
(5) ทุนเรือนหุ้น (ถ้ามี)
(6) จัดทำบัญชีรับ-จ่ายของกลุ่มชาวสวนยาง กยท. (ถ้ามี)

ข้อ 7 ติดตาม ประเมินผล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ กยท. กำหนด

ค่าใช้จ่ายที่กลุ่มชาวสวนยาง กยท.จะได้รับ

ข้อ 8 ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าสมนาคุณวิทยากร ค่าถ่ายเอกสาร ค่พิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์ ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน ค่ใช้จ่ายตกแต่งสถานที่ ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นให้เบิกจ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของการยางแห่งประเทศไทย

ข้อ 9 การสนับสนุนกลุ่มชาวสวนยาง กยท. ในกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิตการแปรรูป การตลาด และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวช้องกับยางพาราและอุตสาหกรรมยางแปรรูปยางขั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง การพัฒนายางพาราทั้งระบบ และการรักษาเสถียรภาพราคายาง ให้เป็นไปตามนโยนาย แผนงาน และโครงการซอง กยท. ตามที่ผู้ว่าการหรือคณะกรรมการเห็นชอบ

ข้อ 10 หากกลุ่มชาวสวนยาง กยท. มีความประสงค์จะจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นนิติบุคคล ให้ดำเนินการตามกฎหมายการจัดตั้งนิติบุคคล นั้น

และสุดท้าย ข้อ 11 ให้ผู้ว่าการรักษาการตามประกาศนี้ กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้ผู้ว่าการ เป็นผู้วินิจฉัย โดยคำวินิจฉัยของผู้ว่าการให้ถือเป็นที่สุด

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Update :  13 กุมภาพันธ์ 2567     เวลา : 16:53:21 น.
 

สมาคมน้ำยางข้นไทย
60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel. 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org

ระบบจัดการข้อมูล | ระบบเช็คอีเมล์
Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com