|
 
 
 
วันที่ / Date 4-7/05/2567
71.70 บาท/กก. (THB/Kg.)
 
วันที่ / Date 03/05/2567
1,480.00 USD/MT (@ B/USD)
  •   กยท. ขานรับมาตรการ ‘คาร์บอน’ สหภาพยุโรป  new
ความขับเคลื่อน“ตลาดคาร์บอนเครดิต”ที่สำคัญและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมาก คือ มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนของ สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบาย European Green Deal
ความขับเคลื่อน“ตลาดคาร์บอนเครดิต”ที่สำคัญและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมาก คือ มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนของ สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบาย European Green Deal ที่ตั้งเป้าหมายจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้อย่างน้อย 55% ภายในปี 2030 เป็นที่มาให้มีการเรียกเก็บจากผู้นำเข้าเช่นเดียวกันด้วย หรือที่เรียกว่า Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM / มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้าข้ามพรมแดน) โดยจะมีการเก็บภาษีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป 
 
"ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านไว้ระหว่างวันที่1 ต.ค. 2566-31 ธ.ค. 2568 ซึ่งสินค้านำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก EU ที่มีราคาสูงกว่า 150 ยูโร จะต้องมีเอกสารรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งการปล่อยก๊าซในทางตรงและทางอ้อมส่งให้กับคู่ค้าของตนใน EU เป็นรายไตรมาส (CBAM Declaration)เงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนอย่างกว้างขวาง
 
ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กล่าวว่า การจัดลำดับพืชที่เข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย จะมองในกลุ่มของไม้ยืนต้น อายุยืนยาวที่มีเนื้อไม้และมีวงปี เป็นหลัก ซึ่งหมายถึงไม้ในพื้นที่ป่าสงวน ที่ยังมีปัญหาในรายละเอียดข้อมูล เช่นชนิดไม้ พื้นที่ปลูก อายุ เป็นต้น ทำให้ยากต่อการเจรจาซื้อขายแต่สำหรับไม้ยางพารา แม้จะเป็นพืชเศรษฐกิจ มีรายได้จากน้ำยางเป็นหลัก แต่ไม้ยางมีอายุยืนถึง 25 ปีเป็นอย่างน้อย ในขณะที่มีหน่วยงานดูแลที่ชัดเจน คือ กยท. ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดของยางพาราที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดช่วงอายุการปลูก อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ยางพาราเป็นพืชปลูก ทำให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) คำนวณอัตราซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับองค์กรของEU และองค์กรระหว่างประเทศ แต่จะมีเงื่อนไขที่เข้มกว่า
จากการวิจัยในเรื่องคาร์บอนเครดิตพบว่า ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นที่มีการกักเก็บคาร์บอนได้ดี สามารถเก็บได้ตั้งแต่อายุต้นยาง 1-18 ปี โดยเฉพาะในช่วง 1-5 ปีแรกก่อนเปิดกรีด เกษตรกรชาวสวนยางจะสามารถเพิ่มรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตในช่วงก่อนเปิดกรีดได้ ควบคู่กับการลดใช้ปุ๋ยเคมีและปัจจัยการผลิตต่างๆ รวมถึงลดการใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต หรือการขนส่ง ที่จะส่งผลก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
 
นอกจากนี้ กยท. ได้ร่วมกับ สภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB)ในการหารือแลกเปลี่ยนความรู้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพัฒนาตลาดและการใช้สวนยางพาราลดการปล่อยคาร์บอนเพิ่มช่องทางสร้างรายได้แก่ชาวสวนยาง ผ่านโครงการซื้อขายคาร์บอนด้วยการปลูกยาง เพื่อตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจ 
ทั้งนี้ตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจและการซื้อขายคาร์บอนเป็นเครื่องมือดึงดูดเกษตรกรชาวสวนยาง ให้มีความสนใจนำสวนยางเข้าร่วมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นโอกาสที่ดีให้พวกเขามีช่องทางได้รับรายได้เสริมสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น
 
ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ อบก. เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการT-VER อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้พื้นที่ปลูกยางของกรมวิชาการเกษตรเป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษากระบวนการเก็บข้อมูล วิธีการในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เหมาะสมสำหรับยางพาราที่เกษตรกรสามารถทำได้ ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้รับรองการตรวจประเมินโครงการ และรับรองการคำนวณคาร์บอนเครดิตด้านการเกษตร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร
 
ในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่ประเทศไทยมีการส่งออกมาก 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 0.5-0.7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตันผลิตภัณฑ์ อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการและนโยบายด้าน Green และ Climate Change ในระยะเวลาอันใกล้นี้ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมความพร้อม ซึ่งนอกจากด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางแล้ว ควรหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
Update :  8 มิถุนายน 2566     เวลา : 14:39:09 น.
 

สมาคมน้ำยางข้นไทย
60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel. 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org

ระบบจัดการข้อมูล | ระบบเช็คอีเมล์
Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com