|
 
 
 
วันที่ / Date 21/11/2567
66.00 บาท/กก. (THB/Kg.)
 
วันที่ / Date 20/11/2567
1,555.00 USD/MT (@ B/USD)
 
icon
ต้นยางพารา16 ปี อยู่ จ.สุรินทร์ตอนนี้มีโรคที่หาสาเหตุยังไม่พบ อาการคือ ลำต้นยางเจริญเติบโตปกติเหมือนต้นยางทั่วแต่กรีดแล้วน้ำยางแทบไม่ออก (1-2หยด) ตอนแรกเป็นอยู่ 2ต้น ตอนนี้เป็นหลายต้นมากขึ้น สวนคนอื่น ๆ ก็เป็นเหมือนกัน ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรค่ะ
  ans 
           อาการดังกล่าวน่าจะเกิดจากอาการเปลือกแห้ง (Tapping panel dryness) : TPD อาการที่พบโดยทั่วไปคือที่หน้ายาง ในรอยกรีดของเปลือกที่ติดกับเนื้อเยื่อเจริญ (cambium) จะเป็นสีน้ำตาล กว้างประมาณ 1 -2 มิลลิเมตร และจะขยายต่อไปเรื่อยๆตามรอยกรีดในเนื้อเยื่อที่ผิดปกติจะมีความชื้นสูง น้ำยางจับก้อนอยู่ในท่อน้ำยาง สโตนเซล (stone cell) เพิ่มขึ้น ทำให้เปลือกยางแห้งไม่มีน้ำยาง และเปลือกยางจะแยกเป็นแผ่นหนาและแข็ง จนในที่สุดก็หลุดล่อนออกมา เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างในจะมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์และเจริญผิดปกติจนกลายเป็นปุ่มปม โดยปกติการเกิดอาการเปลือกแห้งจะมีอาการจากหน้ากรีดและจะลุกลามไปเรื่อย ๆ ลงสู่ข้างล่าง แต่ไม่ลุกลามไปยังเปลือกเดิมที่อยู่เหนือรอยกรีด

           ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งได้เกิดจากวิธีการกรีด ระบบการกรีด ความชำนาญของคนกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง แต่ตัวกระตุ้นทำให้เปลือกแห้งมากที่สุดเกิดจากการกรีดที่หักโหมจนเกินไปทำให้ต้นยางไม่มีเวลาพัก

           เพราะฉะนั้นวิธีรักษาที่ถูกต้องที่สุด ต้องหยุดพักการกรีดต้นที่เปลือกแห้งเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนขึ้นไป เพื่อให้ต้นยางมีเวลาพักฟื้น จึงทำการเปิดกรีดหน้าใหม่ทางด้านตรงข้าม หรือเปิดกรีดหน้าสูง และต้องบำรุงรักษาโดยการให้ปุ๋ยควบคู่ไปด้วยตามคำแนะนำของทางการ
 
icon
ดิฉันเห็นข้างสวนเร่งแกสให้กับต้นยาง ประมาณ 300 ต้น 1ต้นยางกรีดได้ประมาน 3 กิโลจะเป็นอันตรายไหมเห็นเขาทำกันเยอะมาก
  ans 
          ตามที่ทีมกลุ่มวิจัย และพัฒนาการผลิตยาง ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้มาทำการทดลองที่องค์การสวนยาง กิ่งอ. ช้างกลาง จ. นครศรีธรรมราช ช่วงต.ค. 39 - ก.ย.40 นั้น การให้แก๊สเร่งน้ำยางเป็นเอทิลีนแก๊ส ที่มีความเข้มข้น 68 % ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้น้ำยางแข็งตัวช้า และเพิ่มแรงดันออสโมติกของน้ำยาง มีผลให้การไหลของน้ำยางนานกว่าปกติ และให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จากผลการทดลองในยางพันธุ์ RRIM 600 ปรากฏว่าการใช้ระบบเจาะวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง (เจาะ 120 วัน) ให้ผลผลิตยางแห้ง 9.25 กิโลกรัม/ต้น/ปี

          ส่วนกรรมวิธีการใช้ระบบเจาะวันเว้นสี่วันร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง ให้ผลผลิตยางแห้ง 8.29 กิโลกรัม/ต้น/ปี (เจาะ 72 วัน) แต่จากการเก็บข้อมูลของสถบันวิจัยยางในยางพันธุ์ RRIM 600 ในการกรีดยางโดยทั่วไป 13 ปีกรีด ผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 289 กิโลกรัม/ไร่/ปี วันกรีดเฉลี่ย 132 วัน ก็เท่ากับผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 2.19 กิโลกรัม/ไร่/วัน

           จะเห็นได้ว่าการใช้แก๊สเร่งน้ำยางจะให้ผลผลิตสูงกว่าการกรีดปกติโดยทั่วไปสองเท่า คือลองเอา 9 คูณด้วย 65 = 585 ก.ก. (65 ต้นต่อไร่เผื่อตาย แคระแกรน หัก ล้ม โค่น) ปกติ 1 ไร่ ระยะปลูก 3 X 7 = 76 ต้น เมื่อสิ้นสุดการทดลองไม่พบต้นแสดงอาการเปลือกแห้ง ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มรายได้แก่เจ้าของสวนยาง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในการกรีดยางได้ และยังสามารถปฏิบัติงานได้ในวันที่มีฝนตก แต่ควรจะใช้กับต้นยางที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
 
icon
อยากทราบรายละเอียดในการซื้อกล้ายางราคาถูกค่ะ
  ans 
          ข้อควรระวังคือ การซื้อกล้ายางตาเขียวและยางชำถุงราคาถูก เกษตรกรต้องการลดต้นทุน แต่ไม่คำนึงถึงคุณภาพของต้นกล้าที่ได้รับ ว่าจะมีขนาดและคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด บางครั้งเจอยางตาสอยพบเห็นโดยทั่วไปกับเกตรกรที่ปลูกยางไปแล้ว 6 เดือนถึง 1 ปี ต้นยางราคาถูก ส่วนใหญ่เป็นต้นยางที่ต้นแคระแกรน ต้นไม่ได้ขนาด ไม่สมบรูณ์ทั้งต้นตอและตาพันธุ์ ต้นขนาดเล็กว่าปากกาหรือเท่าปากกา การซื้อจำนวนมากจะมีต้นยางแบบนี้เกินครึ่ง เมื่อนำไปชำถุง โอกาสที่ต้นยางตายและไม่แตกยอด มากกว่าครึ่ง จากที่ชาวสวนยางรายใหม่ ประสพมา แต่ถ้าซื้อกล้ายางจากสวนที่มีคุณภาพ คัดขนาดต้นยางให้ ราคาพอประมาณ มีใบซื้อขายพันธุ์ยางรับรองให้ และมีใบรับรองพันธุ์ยางออกให้ ถือว่าเป็นการรับประกันยางได้อย่างหนึ่ง

          การซื้อกล้ายางที่ไม่มีคุณภาพในราคาถูก เพื่อลดต้นทุน แต่นำไปชำถุงแล้ว ตายเสียครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า นับว่าเป็นการเสียค่าใช้จ่าย ทั้งการลงทุนและช่วงเวลาที่เสียไป ฉนั้นก่อนการซื้อกล้ายางหรือยางชำถุงทุกครั้ง ควรคำนึงถึง ต้นยางที่มีคุณภาพกับราคาที่เหมาะสม อย่าเห็นกับราคากล้ายางที่ถูกเกินไป เพื่อลดต้นทุน แต่นั้นจะเป็นผลกระทบต่อท่านเป็น 2 เท่าในภายหลังครับ
 
icon
ใครเป็นคนกำหนดราคายางของโลก ในขณะนี้ค่ะ แล้วเขาคำนวนราคากันยังไง? แล้วจะรู้ได้อย่างไรค่ะ ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ต จะรู้ได้ไหมค่ะ
  ans 
          คืออย่างนี้ครับ บ้านเรานี้มียางเยอะ อันดับต้น ๆ ของโลกก็จริงแต่ว่าเราไม่ใช่ผู้ใช้ยาง เราใช้ยางภายในประเทศแค่ 8 เปอร์เซ็นต์ของยางทั้งหมดในประเทศเองครับ

          แล้วใครหละใช้ยางเรา? ก็ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกอย่าง ญี่ปุ่นไงละครับ เขาถึงได้ตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าชื่อว่า TOCOM ย่อมาจาก Tokyo Commodity Exchange ซึ่งเป็นตลาดที่กำหนดราคายางของโลกเลยก็ว่าได้ ถ้าเขาลง เราก็ต้องลงตาม ถ้าเขาขึ้นเราก็ขึ้นตาม เพราะว่าตลาดส่งออกของเราต้องอ้างอิงจากเขา

          ซึ่งเราจะดูราคานี้ได้จากเว็บไซต์ของเขาซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลทุก ๆ 5 นาที http://www.tocom.or.jp/souba/rubber/index.html ในเว็บจะมีการซื้อขายล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน

          คนที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่จะเช็คราคานี้แล้วก่อนที่จะทำการซื้อ-ขายกัน ไม่เว้นแม้แต่ชาวสวนที่ไม่ต้องการถูกเอารัดเอาเปรียบ

          แล้วเขาคำนวณยังไงครับนี้ ถึงจะได้รู้ราคา? วิธีการคำนวณ ก็คือ เอาราคาซื้อขายเดือนใดเดือนหนึ่งที่ต้องการ คูณ ด้วยค่าเงินเยน(บาท/100เยน)
 
icon
อยากทราบเกี่ยวกับจุดเด่นและจุดด้อยของระบบการตลาดยางพาราค่ะ
  ans 
          ระบบตลาดยางของประเทศไทยมี 3 ระบบ คือ ระบบตลาดท้องถิ่น ระบบตลาดกลางยางพารา เป็นระบบที่มีการส่งบอบยางจริงภายในประเทศ และระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า เป็นระบบที่ซื้อขายสัญญาล่วงหน้า

          1. ระบบตลาดยางท้องถิ่น
                จุดเด่น เป็นระบบที่มีร้านค้ายางครอบคลุม และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ในพื้นที่ที่มีการปลูกยาง ประกอบด้วยพ่อค้ารับซื้อยางหลายระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน/ตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ชาวสวนส่วนใหญ่นิยมขายยางผ่านระบบตลาดท้องถิ่น เพราะมีความสะดวกรวดเร็วในการซื้อขายโดยลำพังตนเอง
              จุดด้อย ราคาต่ำกว่าตลาดกลางประมาณ กก.ละ 1 - 3 บาท ส่วนใหญ่ชาวสวนจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง จากการถูกหักความชื้น เทคนิคในการชั่งยาง และในด้านมาตรฐานของเครื่องชั่ง

          2. ระบบตลาดกลางยางพารา
                จุดเด่น ได้ราคาที่เป็นธรรม โดยมีการแข่งขันในการประมูลยางจากบริษัท โรงงานแปรรูปยางโดยตรงไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ได้ราคาที่สูงกว่า ซึ่งมีการดำเนินการโดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ให้บริการซื้อขายยางประเภทต่าง ๆ เช่น ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นผึ่งแห้ง ยางก้อนถ้วย และน้ำยางสด และยังให้บริการในด้านสถานที่ การคัดชั้นยาง การชั่งยาง เริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ ปี 2534 ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ต่อมาในปี 2542 ที่สุราษฎร์ธานี 2544 ที่นครศรีธรรมราช
                จุดด้อย ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ในอนาคตคงจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

          3. ระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า
                จุดเด่น สามารถรู้ราคาล่วงหน้า 2 - 6 เดือน
 

 

ขอขอบคุณ  อสย. เว็บบอร์ด

สมาคมน้ำยางข้นไทย
60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel. 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org

ระบบจัดการข้อมูล | ระบบเช็คอีเมล์
Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com