สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ เผยเดือน ต.ค. 2567 ส่งออกขยายตัว 5.8% เฉียด 9 แสนล้านบาทคาดทั้งปีแตะที่ 4% ไม่ทิ้งคงามกังวลเรื่อง ทรัมป์ ขึ้นภาษี รวมทั้งสงครามระหว่างประเทศ และค่าเงินบาทผันผวน จี้รัฐเร่งเจรจาการค้าเสรี FTA ทั้งตลาดเดิมกลุ่มตลาดใหม่
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนตุลาคม 2567 พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 27,222.1 ขยายตัว 14.6% หรือ 896,735 ล้านบาท ขยายตัว 5.8% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 28,016.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.9% หรือ 934,700 ล้านบาท ขยายตัว 7.1% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 794.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 37,965 ล้านบาท
โดยภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย 11 เดือน (มกราคม-ตุลาคม 2567) พบว่าส่งออกมูลค่า 250,398.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.9% หรือ 8,854,630 ล้านบาท ขยายตัว 8.3% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 257,149.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.6% หนือ 9,199,289 ล้านบาท ขยายตัว 9.9% ส่งผลให้ไทยยังคงขาดดุล 6,751.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 344,659 ล้านบาท
ดังนั้น จึงปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตที่ 4% และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโต 1-3% ซึ่งยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง คือ 1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าและนโยบายอื่นของสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้าที่เกินดุลการค้า และสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางและรัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ 2.Manufacturing PMI ยังคงชะลอตัวในตลาดสำคัญ แม้จะมีอุปสงค์ระยะสั้นในการนำเข้าในช่วงเทศกาลสำคัญ และวัฏจักรขาขึ้นของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 3.ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน จากความไม่แน่นอนของทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ จากปัจจัยเงินเฟ้อและนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐ 4.สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลปรับลดลงในเส้นทางสำคัญ แต่ยังมีความผันผวนจาก การปรับขึ้นค่าใช้จ่าย อาทิ ค่า GRI (General Rate Increase) การเจรจาปรับขึ้นค่าแรงในฝั่งตะวันออกของสหรัฐที่ยังไม่ยุติ และ 5.มาตรการทางการค้าที่เฝ้าระวัง อาทิ การกลับมาส่งออกข้าวของอินเดีย กระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย สหภาพยุโรปเลื่อนการบังคับใช้ EUDR ออกไปเป็นปี 2569 กระทบราคาส่งมอบต่อผู้ส่งออกยางพารา
ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1.เร่งลดต้นทุนการทำธุรกิจให้กับผู้ส่งออก อาทิ ต้นทุนการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนการประกันความเสี่ยงการชำระเงินค่าสินค้า 2.เพิ่มงบประมาณและจำนวนความถี่ในการจัดส่งเสริมกิจกรรมการค้าทั้งในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักและตลาดลำดับรอง และ 3.เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีในกรอบที่มีอยู่เดิม และเพิ่มการเจรจาในตลาดศักยภาพใหม่... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1707959
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ |