15 พ.ย. จับตา ประชุม “กนย.” สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ เตรียมชง 4 มาตรการ “จัดตั้งบริษัทลูก –คลินิกดินปุ๋ยยาง” ป้องราคายางตกต่ำ เพิ่มรายได้ชาวสวนยั่งยืน
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และกรรมการในคณะกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยได้เตรียมนำเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่คาดจะมีการประชุมในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เพื่อขอให้พิจารณาขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท
โดยขอให้ออกประกาศฉบับใหม่กำหนดสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเป็นยางชั้น 1และตัดสายพันธุ์ที่ผลผลิตต่ำไม่คุ้มกับต้นทุนออกจากยางชั้น 1 ทั้งนี้สมาคมฯ จะเสนอด้วยว่าสวนยางที่ปลูกด้วยยางสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำไปแล้วเช่นสายพันธุ์ RRIM6OO ซึ่งมีถึง70% ของสวนยางทั้งประเทศไม่อาจโค่นและปลูกแทนด้วยสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงได้ในทันทีเพราะยังให้น้ำยางอยู่สมควร
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสนับสนุนและส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตยางคือฮอร์โมนเอทธิลีนมาใช้บำรุงต้นยางซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มอย่างน้อยเท่าตัวซึ่งซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนการผลิต และยกระดับชาวสวนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ทาง กนย.ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ได้พิจารณาแล้วมีข้อคิดเห็นที่ประชุมดังนี้
“ประธานมอบหมายให้คณะกรรมการ ฝ่ายเลขานุการ รักษาการผู้ว่าการ กยท. และประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยนำประเด็นข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทยเสนอไปใช้ในการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง
ส่วนประเด็นการเสนอชื่อนายอำนวย ปะติเส เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ประธานเห็นด้วยกับคุณสมบัติตามที่เสนอมาแต่ด้วยข้อกฎหมายจำเป็นต้องให้การตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ให้เสร็จสิ้นก่อน”
ส่วน รักษาการผู้ว่าการกยท. (นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศยางพันธุ์ดีปี พ.ศ. 2567 ว่าได้ผ่านคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการควบคุมยางพ.ศ. 2542 ต่อไป
สำหรับประเด็นการเพิ่มผลผลิตยางโดยการใช้เอทธิลีน กยท. ได้ดำเนินการอุดหนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ ดังนี้
ข้อ1. ขอให้การยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัดหา ฮอร์โมนเอทธิลีน พร้อมอุปกรณ์ให้ชาวสวนยางได้ใช้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กยท.กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 49 (2) และ (3) และจัดให้มีการอบรมชาวสวนยางให้ใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ข้อ 2. ขอให้กรมวิชาการเกษตรจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามข้อ 1. ทั้งกรณีผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศหากจำเป็นต้องตรวจสอบโดยใช้ห้องปฏิบัติการ (Lab) ขอให้ใช้ห้องปฏิบัติการ(Lab) ของประเทศไทยเท่านั้นกรณีนำเข้าจากต่างประเทศขอให้กรมวิชาการเกษตรอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการนำเข้าให้สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะให้ยกเลิกการใช้ห้องปฏิบัติการ (Lab) ของต่างประเทศเพราะการนำเข้าประเทศไทยก็ต้องเชื่อมั่นในห้องปฏิบัติการ(Lab) ของไทยและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าซึ่งจะทำให้ต้นทุนของสินค้าไม่สูงเกินความจำเป็น
ข้อ 3. เสนอให้เร่งจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจ ของ กยท. ซึ่งจะสามารถหารายได้ให้กับองค์กรแล้วยังสามารถรักษาเสถียรภาพราคา ตลอดจนช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางได้เป็นอย่างดี
ข้อ 4. เปิด “คลินิกดินปุ๋ยยาง” ทั่วประเทศ ให้ดำเนินธุรกิจดินปุ๋ยชุมชนชาวสวนยาง โดยให้บริการตรวจดิน แนะนําการใช้ปุ๋ยและจําหน่ายแม่ปุ๋ยนั่นก็คือ “ธุรกิจดินปุ๋ยชุมชนชาวสวนยาง”และใช้ “คลินิกดินปุ๋ยยาง” เป็นแหล่งเรียนรู้ดินปุ๋ยของชุมชน
“สมาคมฯ มั่นใจ 4 มาตรการนี้จะทำให้ราคายางดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ที่คาดจะมีการประชุมในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ “ นายอุทัย กล่าว
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ |