TLA LATEX
   
 
วันที่ 22-24/02/2568
68.20 บาท/กก.
 
วันที่ 21/02/2568
1,590.00 USD/MT (@ B/USD)
ข่าวสาร
สมาคมน้ำยางข้นไทย
  •   ผลกระทบจากการยกเว้น ภาษีที่ดินพื้นที่สีเขียว new

1.เป็นโครงการปลูกป่าหรือฟื้นฟูป่าเฉพาะที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ในการลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้และการเกษตรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หรือ


2....เป็นป่าชายเลนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนด ทั้งนี้จะต้องไม่มีการใช้หาประโยชน์จากป่านั้น เว้นแต่เป็นการขายหรือถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตซึ่งได้รับการรับรองจาก อบก.


จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโลกรวนและสนับสนุนให้มีพื้นที่ป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก


อย่างไรก็ตาม ถ้าเป้าหมายของเราคือการรักษาระบบนิเวศและลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกตามที่เราได้แสดงความมุ่งมั่นไว้กับนานาชาติ เราก็ต้องส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่า มากกว่าส่งเสริมให้ได้คาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นเพียงกลไกทางการค้าอย่างหนึ่ง


แม้ว่าการเพิ่มพื้นที่ป่าและคาร์บอนเครดิต มีส่วนเกี่ยวเนื่องกันแต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เป้าหมายต้องให้ชัด กล่าวคือเราควรเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้นซึ่งทำได้โดยทั้งการรักษาต้นไม้ที่มีอยู่แล้วและปลูกต้นไม้ใหม่ให้มีมากขึ้น


ทั้งนี้ คำว่า “ป่า” ในที่นี้ไม่ได้อิงนิยามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ซึ่งหมายถึงที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์) แต่หมายถึงพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพืชพรรณและระบบนิเวศตามความหมายที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจ


มีพื้นที่เอกชนจำนวนมากที่มีต้นไม้ขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือมีต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้จนมีลักษณะเป็นป่าแล้ว แต่ด้วยแรงกดดันจากรัฐ ทำให้เจ้าของที่ดินจำนวนมากต้องตัดฟันต้นไม้ของตนทิ้งหันมาทำเกษตรกรรม เปลี่ยนป่าให้เป็นสวนกล้วย สวนมะละกอ สวนมะม่วง ฯลฯ


พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กำหนดให้พื้นที่ที่“ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ” ที่มีมูลค่า 0-50 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.3%


ส่วนที่ดินที่มีมูลค่าสูงกว่านี้จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามลำดับ และหากเจ้าของที่ดินยังคงยืนยันไม่ตัดต้นไม้ทิ้งและนำพื้นที่นั้นมาใช้ประโยชน์ตามความเข้าใจของทางการ อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ทุกๆ 3 ปี รวมแล้วไม่เกิน 3% 


ส่วนพื้นที่เกษตรกรรมที่มีมูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาทจะไม่ต้องเสียภาษีเลย ส่วนที่มีมูลค่า 50-125 ล้านบาทจะเสียภาษีเพียง 0.01% เท่านั้น 


สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ป่าชาวบ้านที่อุดมสมบูรณ์ผืนใหญ่บ้างเล็กบ้าง กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ รวมทั้งในเมือง (urban forest) ซึ่งใช้เวลาหลายปีกว่าจะมีสภาพดังกล่าว ถูกตัดโค่นเปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยว (mono-crop agriculture) ที่มีคุณค่าเชิงนิเวศน้อยกว่ามากมายมหาศาล ในช่วงเวลาเพียงสั้นๆ


นอกจากความเสียหายทางระบบนิเวศและทำให้พื้นที่ดูดซับคาร์บอนของเมืองและของประเทศลดลงจากเดิมแล้ว ภาครัฐอาจคิดไปไม่ถึงว่ามาตรการนี้จะมีผลกระทบทางการค้าระหว่างประเทศด้วย


ในปี 2566 รัฐสภายุโรปได้ออกกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่า (EU Deforestation Regulation, EUDR) ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้น เพื่ออนุวัตหรือทำตามคำมั่นที่ได้ทำไว้ต่อเวทีนานาชาติที่จะลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ได้


กฎหมาย EUDR กำหนดให้โภคภัณฑ์ 7 ชนิด อันได้แก่ ยางพารา น้ำมันปาล์ม ไม้ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง และเนื้อวัว และสินค้าบางชนิดที่ผลิตต่อ เนื่องจากโภคภัณฑ์เหล่านี้ ห้ามทั้งนำเข้าหรือส่งออกจากตลาดสหภาพยุโรป ยกเว้นจะสามารถยืนยันได้ว่าโภคภัณฑ์เหล่านั้นมาจากแหล่งผลิต(ที่ดิน)ที่ถูกต้องตามกฎหมายและปลอดจากการทำลายป่า (deforestation) หรือทำให้ป่าเสื่อมโทรม (forest degradation)


หันกลับมาที่ประเทศไทย หากเจ้าของที่ดินตัดต้นไม้ในที่ดินของตนทิ้งเพื่อทำเกษตรกรรม 7 ชนิดข้างต้น เจ้าของผลผลิตก็จะไม่สามารถขายผลผลิตให้ผู้รับซื้อหรือคนกลางที่ส่งออกโภคภัณฑ์เหล่านั้นไปยังตลาดยุโรปได้ ด้วยขัดต่อกฎหมาย EUDR นั่นเอง


ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายภาษีที่ดินฉบับนี้ยังอาจกลายเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า รัฐบาลไทยสนับสนุนให้เกิดการทำลายป่าเพื่อทำเกษตรกรรม อันทำให้ไทยมีโอกาสถูกจัดเข้าไปอยู่ในประเทศผู้ส่งออกกลุ่ม “เสี่ยงสูง” ซึ่งจะส่งสินค้า 7 ชนิดข้างต้นเข้าตลาดยุโรปได้ยุ่งยากขึ้น


เมื่อเป็นเช่นนั้น คนที่จะได้รับผลกระทบทางอ้อมตามมาจะครอบคลุมไปถึงเกษตรกรรายอื่นๆ ที่ปลูกพืชเหล่านี้และผู้ประกอบการส่งออกโภคภัณฑ์ทั้งเจ็ด รวมถึงผู้เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าจากการแปรรูปโภคภัณฑ์เหล่านั้นด้วย


ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตัดต้นไม้ในที่ดินของตนทิ้งตามแรงกดดันจากภาษีที่ดินแต่แรกแต่อย่างใด


เพื่อไม่ลดทอนโอกาสการส่งออกของไทยไปตลาดยุโรปและไม่บั่นทอนกำลังใจของทั้งเกษตรกรและผู้ส่งออก และควรเลิกคิดว่าที่ดินที่มีต้นไม้หลากพันธุ์ขึ้นมากอยู่แล้วเหล่านี้เป็นที่ดินที่ “ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ” อีกต่อไป



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

วันที่ :  19 กุมภาพันธ์ 2568
 
 

สำนักงาน 60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail: tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org



Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com