หมวดที่ 7 การประชุมใหญ่ |
ข้อ 27. การประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกอย่างน้อย ทุกระยะเวลาสิบสองเดือน การประชุมเช่นนี้เรียกว่า การประชุมใหญ่สามัญ การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากการประชุมใหญ่ตามวรรคก่อน เรียกว่า การประชุมใหญ่วิสามัญ ข้อ 28. กำหนดการประชุมใหญ่ มีดังนี้
ข้อ 29. การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม คณะกรรมการจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึง วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ โดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนสมาชิก หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนวันประชุมใหญ่ ไม่น้อยกว่า 7 วัน ข้อ 30. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญ มาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงถือว่าเป็นองค์ประชุม ข้อ 31. กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม การประชุมใหญ่ที่ได้ เรียกนัดประชุม วันและเวลาใดหากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้ว 1 ชั่วโมง ยังมี สมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิก ร้องขอ ให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่ขอให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้ทำการ บอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลา และสถานที่ใหม่อีกครั้งภายใน 15 วัน นับแต่วัน ประชุมใหญ่คราวแรกในการประชุมใหญ่คราวหลังจะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใด ก็ให้ถือว่าครบเป็นองค์ประชุม ข้อ 32. ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสมาคม ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกและอุปนายก ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธาน ในที่ประชุม เฉพาะการประชุมคราวนั้น ข้อ 33. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียง ลงคะแนน และสมาชิกสามัญคนหนึ่ง ๆ มีคะแนนเสียง 1 เสียง การออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือปฏิบัติ 2 กรณี คือ
ข้อ 34. มติของที่ประชุมใหญ่ นอกจากที่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
|