สำหรับข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ประกอบด้วย
1.โครงการชะลอการขายยางที่ผ่านมา ทั้งยางก้อนถ้วย น้ำยางสด และยางแผ่นรมควัน ปรากฏว่าขณะนี้ล้มเหลว ขอให้หยุดโครงการลงชั่วคราว
2.โครงการสวนยาง SFC เพื่อสนับสนุนการจัดการป่าไม้ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เป้าหมายส่งสินค้า ทั้งไม้ยางและยางพาราแปรรูปสู่ตลาดสากล แต่ก็ล้มเหลวเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สวนยางพารามีทั้งหมด 25 ล้านไร่ แต่ไม่มีความคืบหน้าในโครงการส่งออกไปตลาดยุโรป
3. โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ก็ล้มเหลว เดิมเป้าหมายจำนวน 100,000 ตัน แต่ทำได้จริงเพียงประมาณ 1 หมื่นตันเท่านั้น ก็หยุดชะงัก เป้าหมายจะนำยางมาใช้ภายในประเทศให้ได้ 35% ก็ล้มเหลว และกลายเป็นว่าเรื่องยาง เป็นประเด็นทางการเมือง โดยขอให้รัฐออกเป็นกฎหมายกำหนดให้มีการใช้ยางในโครงการต่างๆ 5%
และ 4.ให้รัฐส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยการสนับสนุนงบประมาณ เช่น เดิมจะส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสวน ก็ปรากฏว่าล้มเหลวเช่นกัน
ทางด้านนายบรรจงกิจ กล่าวว่า โครงการสวนยาง SFC เพื่อส่งเสริมการส่งออกสู่ตลาดสากลนั้น จ.นครศรีธรรมราชเป็น 1 ในจังหวัดนำร่อง ตั้งแต่สมัยยุครัฐบาล คสช. เริ่มทำที่สหกรณ์การเกษตรนาบอน ปรากฏว่าพอทำได้น้ำยางไปส่งบริษัทไม่เพียงพอเข้าไลน์การผลิต เพราะพื้นที่น้อย จากนั้นไปทำที่สหกรณ์ทุ่งสง ก็ไม่ได้อีก เพราะเกษตรกรไม่มีใครเข้าร่วม ทำให้ล้มเหลว โดยจ.นครศรีธรรมราช เป้าหมายจะยกระดับสวนยางให้ได้มาตรฐาน SFC จำนวน 40,000 ไร่ แต่ทำได้จริงเพียงประมาณ 3,000 ไร่เท่านั้น รัฐควรเร่งสานต่อนโยบาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสากล
ที่มา : เนชั่น